เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 16. สารีปุตตสุตตนิทเทส
คำว่า ภิกษุนั้นถูกผัสสะเหล่านั้น ในคำว่า ภิกษุนั้นถูกผัสสะเหล่านั้น
กระทบแล้ว โดยอาการมากอย่าง ก็ไม่ให้โอกาส อธิบายว่า ถูกผัสสะแห่งความ
เจ็บป่วย ความหิว ความหนาว และความร้อนกระทบแล้ว คือ ครอบงำ กลุ้มรุม
ประกอบแล้ว รวมความว่า ภิกษุนั้นถูกผัสสะเหล่านั้นกระทบแล้ว
คำว่า โดยอาการมากอย่าง ได้แก่ ถูกกระทบแล้ว คือ ครอบงำ กลุ้มรุม
ประกอบแล้ว โดยอเนกประการ รวมความว่า ภิกษุนั้นถูกผัสสะเหล่านั้นกระทบแล้ว
โดยอาการมากอย่าง
คำว่า ก็ไม่ให้โอกาส ได้แก่ ไม่เปิดโอกาสให้วิญญาณที่เกิดพร้อมกับอภิสังขาร
จึงชื่อว่า ไม่ให้โอกาส อย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง ไม่เปิดโอกาสให้กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต จึงชื่อว่าไม่ให้โอกาส
อย่างนี้บ้าง รวมความว่า ภิกษุนั้นถูกผัสสะเหล่านั้นกระทบแล้ว โดยอาการมากอย่าง
ก็ไม่ให้โอกาส
คำว่า พึงทำความเพียรและความบากบั่นให้มั่นคง อธิบายว่า การปรารภ
ความเพียร การก้าวออก การก้าวไปข้างหน้า การย่างขึ้นไป ความพยายาม
ความอุตสาหะ ความขยัน ความไม่ถอยกลับ ความมั่นคง ความทรงไว้ ความบาก
บั่นไม่ย่อหย่อน ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความประคองธุระไว้
วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ สัมมาวายามะ ตรัสเรียกว่า ความเพียรและความบากบั่น
คำว่า พึงทำความเพียรและความบากบั่นให้มั่นคง อธิบายว่า พึงทำ
ความเพียร และความบากบั่นให้มั่นคง คือ พึงทำให้หนักแน่น ได้แก่ พึงเป็นผู้มี
การถือปฏิบัติมั่นคง มีการถือปฏิบัติแน่วแน่ รวมความว่า พึงทำความเพียรและ
ความบากบั่นให้มั่นคง ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
ภิกษุถูกผัสสะแห่งความเจ็บป่วยและความหิวกระทบแล้ว
พึงอดกลั้นความหนาว หรือความร้อน
ภิกษุนั้นถูกผัสสะเหล่านั้นกระทบแล้ว โดยอาการมากอย่าง
ก็ไม่ให้โอกาส พึงทำความเพียรและความบากบั่นให้มั่นคง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :589 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 16. สารีปุตตสุตตนิทเทส
[202] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
ภิกษุไม่พึงขโมย ไม่พึงพูดเท็จ
พึงแผ่เมตตาไปยังสัตว์ทั้งผู้สะดุ้งและผู้มั่นคง
เมื่อใด ภิกษุรู้แจ้งความขุ่นมัวแห่งใจ
เมื่อนั้น เธอพึงบรรเทาเสียด้วยมนสิการว่า
นี้เป็นฝักฝ่ายแห่งมารผู้มีกรรมดำ
คำว่า ไม่พึงขโมย ในคำว่า ไม่พึงขโมย ไม่พึงพูดเท็จ อธิบายว่า ภิกษุ
ในธรรมวินัยนี้ พึงเป็นผู้ละอทินนาทาน เว้นขาดจากอทินนาทาน รับเอาแต่ของที่
เขาให้ มุ่งหวังแต่ของที่เขาให้ ดำรงตนอยู่อย่างสะอาด ไม่ขโมย รวมความว่า ไม่พึง
ขโมย
คำว่า ไม่พึงพูดเท็จ อธิบายว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงเป็นผู้ละการกล่าวเท็จ
เว้นขาดจากการกล่าวเท็จได้แล้ว คือ เป็นคนพูดจริง ตั้งมั่นในความสัตย์ มีถ้อยคำ
มั่นคง เชื่อถือได้ ไม่กล่าวคำหลอกลวงชาวโลก รวมความว่า ไม่พึงขโมย ไม่พึงพูดเท็จ

ว่าด้วยการแผ่เมตตา
คำว่า พึงแผ่เมตตาไปยังสัตว์ทั้งผู้สะดุ้งและผู้มั่นคง อธิบายว่า
คำว่า เมตตา ได้แก่ ความรัก กิริยาที่รัก ภาวะที่รัก ความเอ็นดู กิริยาที่เอ็นดู
ภาวะที่เอ็นดู ความปรารถนาเกื้อกูลกัน ความอนุเคราะห์ ความไม่พยาบาท ความ
ไม่ปองร้าย กุศลมูลคืออโทสะในหมู่สัตว์
คำว่า ผู้สะดุ้ง อธิบายว่า เหล่าสัตว์ยังละตัณหาอันทำให้สะดุ้งไม่ได้ ยังละภัย
และความหวาดกลัวไม่ได้ เพราะเหตุไร สัตว์เหล่านั้น จึงตรัสเรียกว่า ผู้สะดุ้ง
สัตว์เหล่านั้น ยังสะดุ้ง คือ ครั่นคร้าม เกรงกลัว หวาดกลัว ถึงความสะดุ้ง
เพราะเหตุนั้น สัตว์เหล่านั้น จึงตรัสเรียกว่า ผู้สะดุ้ง
คำว่า ผู้มั่นคง อธิบายว่า เหล่าสัตว์ที่ละตัณหาอันทำให้สะดุ้งได้แล้ว ละภัย
และความหวาดกลัวได้แล้ว เพราะเหตุไร สัตว์เหล่านั้นจึงตรัสเรียกว่า ผู้มั่นคง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :590 }